ทำหน้าที่ตรวจวินิจฉัยและการบำบัดรักษา ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่มีปัญหาทางจิตใจ ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และสัมพันธภาพ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งผู้ป่วยและญาติ ที่อาจมีปัญหาดังกล่าว เช่น สภาพจิตใจย่ำแย่หลังจากประสบเหตุการณ์ร้ายแรง จากการเจ็บป่ วยกระทันหัน หรือความเครียดต่างๆ ทั้งที่เป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร งานจิตวิทยาคลินิกมีส่วนสำคัญต่อการบำบัดฟื้นฟู เนื่องจากผู้พิการหรือผู้ที่สูญเสียสมรรถภาพทางกายย่อมมีสภาพจิตใจแย่ลง หน้าที่ของนักจิตวิทยาคลินิกคือการประเมินด้วยแบบทดสอบต่างๆ เช่นประเมินสมรรถภาพสมอง ให้การปรึกษาและการรักษาทางจิตวิทยาร่วมกับทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการปรับสภาพจิตใจภายหลังเกิดความพิการได้ และยังมีงานส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การศึกษา ค้นคว้า วิจัย ด้านจิตวิทยาคลินิก พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางสุขภาพจิต จิตวิทยาคลินิก และวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.ให้บริการประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ แนวทางการสอนและเลี้ยงดูเด็กพิเศษ ให้กับผู้ปกครอง
2.ให้บริการ ตรวจประเมินผู้ป่วย ที่เข้ามารับการรักษา ในศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ทุกรายเป็นรายบุคคล ทั้งการประเมินจากการสัมภาษณ์ พูดคุยโดยหลักการทางจิตวิทยา การให้คำปรึกษา และใช้แบบทดสอบเฉพาะด้าน ที่เป็นมาตรฐานสากล เช่นแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา แบบทดสอบสมรรถภาพสมอง แบบทดสอบบุคคลิกภาพ และแบบทดสอบทางจิตวิทยาอื่นๆเพื่อหาความผิดปกติทางจิตเวช
เครื่องมือที่ใช้มีตั้งแต่แบบคัดกรอง (screening) เช่น แบบประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบรูณ์ แบบวัดความซึมเศร้า CES-D แบบประเมินวิเคราะห์ความเครียด แบบประเมินคัดกรองสมรรถภาพสมอง ไปจนถึงแบบทดสอบระดับสาม (C) เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคทางจิตเวช ที่ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เช่นแบบทดสอบบุคลิคภาพ ต่างๆ แบบทดสอบเชาวน์ปัญญามาตรฐาน
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสภากาชาดไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและให้บริการ ขอนำข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์แบ่งปันกับบุคคลที่สาม รวมถึงโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม สำหรับการประชาสัมพันธ์ โดยการกด “ยอมรับ” ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุกกี้