การจัดท่าและการร่อนระบายเสมหะในเด็กพิการทางสมอง (Cerebral palsy)
การขับเสมหะออกจากปอดและหลอดลม ต้องอาศัยองค์ประกอบดังต่อไปนี้
- การจัดท่าผู้ป่วย (Postural drainage)
เป็นวิธีการที่อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก (gravity) เป็น หลัก โดยจัดให้ส่วนของปอดที่ต้องการระบาย อยู่เหนือกว่า หลอดลม และปาก ทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กสู่ หลอดลมใหญ่ และถูกขับออกโดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอ และบ้วนเสมหะ - การเคาะ (Percussion) และการสั่นสะเทือน (Vibration)
คือการทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนผ่านผนังทรวงอก ลงไปถึงแขนงหลอดลม ลมที่กระทบผนังทรวงอกขณะเคาะ จะทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนปลายค่อยๆ หลุดเลื่อนไหลออกมาตามแขนงหลอดลมจากเล็กไปใหญ่ และ เป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอเพื่อระบายเสมหะออก ในเด็กเล็ก อาจใช้ผ้าบางๆ วางบนตำแหน่งที่เคาะ การเคาะปอด ใช้อุ้งมือ ไม่ควรใช้ฝ่ามือ โดยทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม นิ้วแต่ละนิ้วชิด กันที่เรียกว่า cupped hand เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ได้รับการ - การเคาะแต่ละท่าควรใช้เวลาประมาณ 1 นาที
- ขณะเคาะหากผู้ป่วยไอควรหยุดเคาะ ให้ใช้การสั่นสะเทือนแทน โดยการใช้มือวางราบพร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน และ หัวไหล่ ในจังหวะการหายใจเข้าเต็มที่ และกำลังหายใจออก
- ฝึกการไอให้มีประสิทธิภาพ(*ทำได้เฉพาะเด็กที่รู้เรื่องและเข้าใจ คำสั่ง) โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ช้าๆ กลั้นไว้สักครู่ และไอ ออกมาโดยเร็วและแรง
- ควรเคาะก่อนรับประทานอาหาร หรือขณะท้องว่าง หรือหลัง รับประทานอาหารอย่างน้อย 2ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักและ อาเจียน
การจัดท่าและการเคาะปอด (ทำท่าสาธิตปอดข้างซ้าย)
ท่าที่ 1 ปอดกลีบซ้ายบน ส่วนยอด
จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งเอนตัวมาข้างหลัง ประมาณ 30องศาเคาะบริเวณด้านบน เหนือทรวงอกด้านซ้ายระหว่างกระดูก ไหปราร่าและกระดูกสะบัก
ท่าที่ 2 ปอดกลีบซ้ายบน ด้านหลัง
จัดท่าให้เด็กนอนคว่ำหรือนั่งคร่อมตัว มาทางด้านหน้าเล็กน้อย(30องศา)ของ ผู้ให้การบำบัด เคาะบริเวณด้านหลัง ตอนบนเหนือกระดูกสะบัก ระหว่าง กระดูกต้นคอและหัวไหล่
ท่าที่ 3 ปอดกลีบซ้ายบนด้านหน้า
จัดท่านอนหงายราบ เคาะบริเวณเหนือราว นมต่ำจากกระดูกไหปลาร้าเล็กน้อย
ท่าที่ 4 ปอดกลีบซ้ายส่วนกลาง
จัดท่าให้ศีรษะต่ำลงประมาณ15 องศา และตะแคงด้านซ้ายขึ้นประมาณเศษ1 ส่วน 4จากแนวราบ และเคาะบริเวณราว นมด้านซ้าย
ท่าที่ 5 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอด ด้านหน้า
จัดให้เด็กนอนตะแคงกึ่งคว่ำหน้าศีรษะ ต่ำ30องศา ประคองทรวงอกบริเวณชาย โครงด้านซ้ายหงายขึ้นมาเล็กน้อย เคาะ บริเวณเหนือชายโครงด้านข้างตอนหน้า ต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย
ท่าที่ 6 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอด ด้านข้าง
จัดท่าศีรษะต่ำ30องศา นอนตะแคงเกือบ คว่ำเคาะบริเวณด้านข้างเหนือชายโครง ระดับเดียวกับ ท่าที่ 5 ใต้ต่อรักแร้ของเด็ก
ท่าที่ 7 ปอดกลีบซ้ายด้านล่างส่วนหลัง
จัดท่าศีรษะต่ำกว่า30องศานอนคว่ำ เคาะ บริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูกสะบักลงมา ในระดับเดียวกับชายโครงด้านหน้า
หมายเหตุ : ในท่าเคาะปอด จะแสดงท่าร่อนระบายเสมหะจากปอดด้านซ้าย สำหรับปอดด้านขวาให้จัด ท่าแบบเดียวกันแต่สลับข้างจากซ้ายเป็นขวา