02-7038912-4, 02-3890853-4, 095-025-1374 (จ - ศ : 13.30-15.30) [email protected]

งานสังคมสงเคราะห์ในทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู

นักสังคมสงเคราะห์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู คือ นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ที่ทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์ที่ดีที่สุด กลุ่มผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
  • ผู้ป่วยสมองกระทบกระเทือน
  • โรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทและอื่น ๆ

โดยเวชศาสตร์ฟื้นฟูใช้  “Bio-Psycho-Social Model”  เพื่อวินิจฉัยความเจ็บป่วยโดยไม่เพียงแต่ดูที่โรคเท่านั้นแต่ยังต้องดูบุคคลอย่างเป็นองค์รวมด้วย นอกจาก Bio-Psycho-Social Model แล้ว เวชศาสตร์ฟื้นฟูยังให้ความสำคัญกับครอบครัวเพราะครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วยและสามารถป้องกันการกลับเป็นซ้ำของอาการ หรืออาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ หรือบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ผู้ดูแลอาจมีความเครียดซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้

นักสังคมสงเคราะห์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู มีหน้าที่หลักในการประเมินครอบครัว โดยใช้การประเมินความพร้อมของครอบครัว (Family Readiness Assessment : F.R.A.) การประเมินครอบครัว มีเป้าหมายหลัก ๆ สามประการ

  • เป้าหมายแรก คือ การกำหนดทิศทางของกระบวนการสัมภาษณ์ครอบครัวและเพื่อสร้างสัมพันธภาพร่วมกับครอบครัว
  • เป้าหมายที่สอง คือ การให้สมาชิกในครอบครัวระบุปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว
  • เป้าหมายที่สาม คือ ดูวิธีการปรับตัวหรือการแก้ปัญหาของครอบครัวเมื่อเผชิญปัญหา

โดยแบบประเมินนี้ จะช่วยบอกนักสังคมสงเคราะห์ได้ว่าควรใช้วิธีการใดในการให้บริการคนไข้แต่ละราย เช่น ในรายที่มีความพร้อมมาก วิธีการที่เหมาะสม คือ Psycho social education แต่ในรายที่มีความพร้อมน้อย นักสังคมสงเคราะห์จะใช้วิธี Family Therapy

เรื่องที่นักสังคมสงเคราะห์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสนใจเป็นพิเศษ คือ ความเข้าใจในระยะเวลาของการฟื้นฟู ให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปของตนเอง จากนั้นจึงให้ความรู้เรื่องการกลับออกไปสู่สังคม การกลับไปอยู่ที่บ้านและการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องที่บ้านตามที่ได้เรียนรู้จากที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นอกจากนี้

นักสังคมสงเคราะห์ยังใช้แบบประเมิน Zarit Caregiver เพื่อดูว่าภาระของผู้ดูแลหนักหนาสาหัสเพียงใด จากนั้นนักสังคมสงเคราะห์จะพูดคุยกับผู้ดูแลเพื่อหาสิ่งที่พวกเขาต้องการ หรือ หาทรัพยากร หรือการสนับสนุนที่นักสังคมสงเคราะห์สามารถจัดหาได้เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา เพื่อให้ครอบครัวสามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ และพึ่งพาตัวเองได้อย่างแท้จริง

โดยสรุปแล้ว นักสังคมสงเคราะห์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับบริการที่เหมาะสมกับบริบทของพวกเขา หลายครั้ง ทั้งญาติและผู้ป่วยยังลังเลใจในการตัดสินใจ หรือการเจ็บป่วยส่งผลกระทบต่อบทบาทของสมาชิกในครอบครัว เช่น การสูญเสียผู้นำครอบครัว นักสังคมสงเคราะห์จะช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวคิดและตัดสินใจร่วมกัน นักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้สนับสนุนที่ไม่ใช่ผู้ตัดสินใจแทนพวกเขา แต่ช่วยพวกเขาในฐานะผู้อำนวยความสะดวก และดูแลความเจ็บป่วยจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วย พึงระลึกไว้เสมอว่านักสังคมสงเคราะห์ทำงานกับผู้ป่วยในฐานะมนุษย์ ไม่ใช่แค่โรคที่รักษาได้ด้วยยา

X

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสภากาชาดไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและให้บริการ ขอนำข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์แบ่งปันกับบุคคลที่สาม รวมถึงโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม สำหรับการประชาสัมพันธ์ โดยการกด “ยอมรับ” ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า