02-7038912-4, 02-3890853-4, 095-025-1374 (จ - ศ : 13.30-15.30) [email protected]

ภาวะดูดกลืนลำบากในเด็กสมองพิการ

นอกจากเด็กสมองพิการจะมีความผิดปกติของพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและการทรงท่าแล้ว ความผิดปกติด้านการดูดการกลืนหรือภาวะดูดกลืนลำบากก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย และถือเป็นปัญหาอันดับต้นๆที่ควรได้รับการรแก้ไข เพราะส่งผลโดยตรงต่อการกิจกรรมการบริโภคในชีวิตประจำวันและภาวะโภชนาการของเด็ก

เด็กสมองพิการที่มีภาวะดูดกลืนลำบาก จะมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการดูด การเคี้ยว การกลืน ทั้งกล้ามเนื้อริมฝีปาก ลิ้น คอ และกล้ามเนื้อหายใจ โดยอาจมีอาการอ่อนแรงหรือแข็งเกร็ง มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ทำงานไม่ประสานกัน มีความผิดปกติของการรับความรู้สึกภายในช่องปาก รวมถึงความผิดปกติของปฏิกิริยาสะท้อนกลับอัตโนมัติ โดยความรุนแรงของภาวะดูดกลืนลำบากจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและตำแหน่งของสมองที่เกิดพยาธิสภาพ ส่งผลให้เด็กกลืนไม่ได้ มีการลำสัก น้ำลายไหลผิดปกติ บางรายอาจมีภาวะกรดไหลย้อนร่วมด้วย เสี่ยงต่อภาวะปอดติดเชื้อที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้เด็กบางรายจำเป็นต้องใส่สายยางเข้ากระเพาะอาหารผ่านทางจมูก (Nasogastric Tube หรือ NG)

อาการแสดงของภาวะดูดกลืนลำบากที่พบในเด็กสมองพิการ

  • กลืนอาหาร, กลืนน้ำไม่ได้ มีอาการไอหรือลำลัก รู้สึกเจ็บ, ระคายเคืองขณะกลืน
  • มีการควบคุมการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยเฉพาะศรีษะ ลำตัว และการใช้มือ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการเกร็งหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลืนไม่ประสานสัมพันธ์กัน เสี่ยงต่อการสำลัก
  • มีการรับความรู้สึกภายในช่องปากผิดปกติ อาจมีความรู้สึกที่ไวกว่าปกติหรือน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้การรับสัมผัสอาหาร อุณหภูมิ รวมไปถึงรสชาติของอาหารผิดปกติไปด้วย
  • มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลืนผิดปกติ ได้แก่ Suck-swallowing reflex, Rooting reflex, Swallowing reflex, Gag reflex, และBite reflex
  • มีการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณปากและช่องปากทำงานผิดปกติ เด็กบางรายอาจมีน้ำลายไหลยืดมากกว่าปกติ กลืนน้ำลายตนเองไม่ได้ ขยับริมฝีปาก ลิ้น ขากรรไกรได้ไม่สมบูรณ์
  • พบปัญหากรดไหลย้อนร่วมด้วย

ตัวอย่างกิจกรรมฝึกกระตุ้นที่ผู้ปกครองสามารถทำเองที่บ้านได้

  • ให้เด็กยิ้มกว้างๆสลับกับการเม้มริมฝีปาก, ทำการบริหารกล้ามเนื้อริมฝีปาก
  • ให้เด็กเอียงปากไปทางด้านซ้ายสลับขวา
  • ให้เด็กออกเสียงสระต่างๆโดยขับริมฝีปากอย่างเต็มที่
  • ให้เด็กแล่บลิ้น ขยับลิ้นไปด้านข้างสลับซ้ายขวา
  • กระตุ้นให้เด็กกลืนน้ำลายบ่อยๆ
  • ให้เด็กเล่นกิจกรรมที่มีการเป่า เช่น เป่านกหวีด, เป่าฟองสบู่, เลียขนม

ทั้งนี้เมื่อพบว่าเด็กมีปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ปกครองควรพาเด็กมาปรึกษาแพทย์และนักกิจกรรมบำบัด เพื่อประเมินปัญหาภาวะดูดกลืนก่อน จึงจะสามารถวางแผนการรักษาได้ตรงจุดและลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะดูดกลืนลำบากได้

X

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสภากาชาดไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและให้บริการ ขอนำข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์แบ่งปันกับบุคคลที่สาม รวมถึงโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม สำหรับการประชาสัมพันธ์ โดยการกด “ยอมรับ” ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า