พูดสั้น กระชับ ไม่ยาว เข้าใจง่าย
ผู้ป่วยอาจมีปัญหาการฟังเข้าใจและสับสนเมื่อต้องฟังประโยคยาว ๆ ทำให้ไม่ตอบสนองหรือตอบสนองได้ไม่ตรงสถานการณ์ พึงระวังผู้ป่วยที่ดูเหมือนพูดสื่อสารได้ดี พูดคล่อง แต่บางครั้งทำตามคำสั่งไม่ได้ ตอบไม่ตรงคำถาม มักมีปัญหาการฟังเข้าใจคำพูด
ใช้คำถาม ใช่-ไม่ใช่ หรือให้ตัวเลือก
ในกรณีที่ผู้ป่วยสื่อสารยากลำบากหรือมีปัญหาการนึกคำ การฟังเข้าใจคำพูด เช่น เข้าห้องน้ำใช่มั้ย? ผู้ป่วยตอบด้วยภาษากายง่ายๆ เช่น พยักหน้า กะพริบตา ส่ายหน้า หรือตอบเป็นคำพูด ใช่ ไม่ใช่
ใช้ท่าทาง หรือ ภาษากาย หรือการชี้เพื่อถาม
เช่น ชี้ที่แก้วน้ำแล้วถามว่า กินน้ำไหม พร้อมทำท่าดื่มน้ำให้ผู้ป่วยเห็น
ใช้สื่อเป็นตัวช่วย
เช่น รูปภาพ ตัวอักษร การเขียนสื่อสาร (ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีปัญหาการอ่านหรือการเขียน)
อดทน รอคอย เป็นกำลังใจ
เนื่องจากมีความคับข้องใจในการสื่อสาร ที่ไม่สามารถบอกความต้องการออกไปได้ หรือพยายามสื่อแล้วผู้อื่นฟังไม่เข้าใจทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว เศร้า ไม่อยากสื่อสาร ไม่ควรคาดคั้นผู้ป่วย ควรรอคอย ค่อยๆกระตุ้นและหาตัวช่วยในการสื่อสารให้เข้าใจกันมากขึ้น