02-7038912-4, 02-3890853-4, 095-025-1374 (จ - ศ : 13.30-15.30) [email protected]

การดูแลจิตใจคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง

ปฏิกิริยาทางจิตใจที่พบบ่อยในคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง

ความวิตกกังวลและเครียด มักพบในช่วงแรกที่เกิดอาการใหม่ ๆ สังเกตได้จากสีหน้าท่าทาง กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ในบางรายที่ปรับตัวไม่ได้อาจจะต้องให้การรักษาควบคู่ไปด้วย

อารมณ์เศร้า เป็นปัญหาทางจิตใจที่พบได้บ่อยที่สุดภายหลังผู้ป่วยเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยจะเกิดได้มากในช่วง 3 เดือนแรกและลดลงภายหลัง 1 ปี ของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษา

พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง บางรายมีพฤติกรรมแบบก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ร้องไห้บ่อย ท้อแท้ แยกตัวไม่สนใจคนอื่นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว ไม่กล้าออกจากบ้าน ไม่ยอมรับการเจ็บป่วย ไม่ยอมรักษา คนไข้อาจมีพฤติกรรมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพื้นฐานบุคลิกภาพ และความสามารถในการปรับตัว นอกจากนี้ ลักษณะและความรุนแรงของโรค ก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการรับรู้ และเข้าใจอาการที่เกิดขึ้น

การฟื้นฟูสภาพจิตใจ (สำหรับผู้ป่วย)

  1. สอบถามถึงอาการป่วย ปัญหาทางอารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้
  2. สอบถามถึงสิ่งที่ไม่สามารถทำได้อย่างเดิม และสิ่งที่ยังสามารถทำได้
  3. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา และพบแพทย์ตามนัด
  4. หมั่นออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำ
  5. เข้าร่วมกิจกรรมของครอบครัวตามปกติ (หากทำได้)

การช่วยเหลือทางจิตใจผู้ป่วย (สำหรับครอบครัวและญาติ)

  1. ควรให้ความใส่ใจและให้กำลังใจคนไข้ตามความเป็นจริง และปรึกษาแพทย์ที่ดูแล เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินและให้การรักษาอย่างถูกต้อง
  2. เข้าใจกับพฤติกรรและอารมณ์ที่เปลี่ยนไปของคนไข้ ครอบครัวและญาติต้องให้กำลังใจผู้ป่วย
  3. แสดงออกทางคำพูด สีหน้า สายตา และการสัมผัสต่อผู้ป่วยว่า ครอบครัวยังรักและเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยอยู่เสมอ ชมเชยทั้งคำพูด สีหน้า สายตา และการสัมผัสและหลีกเลี่ยงการตำหนิ
  4. ช่วยเหลือและให้กำลังใจผู้ป่วยในการฝึกออกกำลังกาย และส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่สามารถทำได้
  5. กรณีผู้ป่วยต้องรักษาในโรงพยาบาล ญาติควรไปเยี่ยมสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้งจากครอบครัว
  6. จัดสิ่งแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน วางเครื่องใช้ในบ้านให้ผู้ป่วยเดินหรือเคลื่อนไหวอย่างสะดวก สามารถหยิบจับสิ่งของได้สะดวก
  7. คนไข้ที่ต่อต้านและปฏิเสธการดูแลจากญาติ ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ชอบบ่อยๆ ให้คนไข้เกิดความรู้สึกว่า ทำอะไรได้เองหลายอย่าง และลดท่าทีต่อต้านเมื่อครอบครัวและญาติเข้ามาช่วยเหลือในบางอย่าง
X

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสภากาชาดไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและให้บริการ ขอนำข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์แบ่งปันกับบุคคลที่สาม รวมถึงโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม สำหรับการประชาสัมพันธ์ โดยการกด “ยอมรับ” ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า