02-7038912-4, 02-3890853-4, 095-025-1374 (จ - ศ : 13.30-15.30) [email protected]

โภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดี

การมีสุขภาพที่นั้นเริ่มจากการให้ความสำคัญในเรื่องของสัดส่วนร่างกายที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงวัย ซึ่งจะนำไปสู่การมีภาวะโภชนาการที่ดี โดยตัวชี้วัดสุขภาพร่างกายเพื่อให้ทราบถึงความต้องการพลังงานและสารอาหารที่ควรได้รับตามสัดส่วน แบ่งตามช่วงวัยดังนี้

วัยเด็กอายุแรกเกิด – 5 ขวบ จะใช้วิธีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และเส้นรอบศรีษะ เนื่องจากในวัยนี้มีพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว เช่นเดียวกับเด็กในวัย 6-18 ปีจะใช้ตัวชี้วัดน้ำหนักเทียบกับส่วนสูง และต้องนำไปเทียบกับกราฟแสดงการเจริญเติบโตที่แบ่งตามเพศ เพื่อดูพัฒนาการด้านร่างกายและสามารถกำหนดปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ควรได้รับอย่างเหมาะสม

วัยผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จะใช้เครื่องมือที่เป็นตัวชี้วัดสุขภาพร่างกายให้ได้สัดส่วนเหมาะสม ได้แก่

ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI)
เป็นตัวชี้วัดน้ำหนักตัวที่เหมาะสม

ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร²)

ตัวอย่าง เพศหญิงน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร มีภาวะน้ำตัวตัวอยู่ในเกณฑ์

ดัชนีมวลกาย = 50 ÷ 1.60² = 19.53 กิโลกรัม/เมตร²

ภาวะน้ำหนักตัวค่าดัชนีมวลกายที่คำนวณได้
ผอม< 18.5
ปกติ18.5 – 22.9
ภาวะน้ำหนักเกิน23.0 – 24.9
อ้วนขั้น 125.0 – 29.9
อ้วนขั้น 230.0 – 39.9
อ้วนอันตราย> 40

การหาน้ำหนักที่ควรจะเป็น (Ideal Body Weight, IBW)
เป็นการหาน้ำหนักที่ควรจะเป็นโดยใช่สัดส่วนของส่วนสูงเป็นตัวตั้ง ให้ทราบถึงน้ำหนักตัวในปัจจุบันมากหรือน้อยกว่า เพื่อจะได้จัดสัดส่วนพลังงานและสารอาหาร ให้เหมาะสม

วิธีการ

น้ำหนักในอุดมคติ  เพศชาย ส่วนสูง (ซม.) – 100 เพศหญิง ส่วนสูง (ซม.) – 105

ตัวอย่าง เพศหญิง ส่วนสูง 160 เซนติเมตร น้ำหนักปัจจุบัน 50 กิโลกรัม

น้ำหนักที่ควรจะเป็น = 160 – 105 = 55 กิโลกรัม

การวัดเส้นรอบเอว เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงในวัยผู้ใหญ่ที่นำไปสู่สาเหตุการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

โดยการวัดเส้นรอบเอวจะวัดผ่านบริเวณสะดือ ให้สายวัดขนานกับพื้น

เพศเส้นรอบเอว (เกินมาตรฐาน)
ชายตั้งแต่ 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว ขึ้นไป
หญิงตั้งแต่ 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้ว ขึ้นไป

ความต้องการพลังงานและสารอาหาร ในวัยผู้ใหญ่อายุ 18 ปี ขึ้นไป
จะคำนวณจากสัดส่วนร่างกายที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยวิธีการหาพลังงานจะมีหลากหลายวิธีที่แตกต่างกันและผลลัพธ์มักจะใกล้เคียงกัน คือ

ผู้หญิง พลังงานที่แนะนำ 1,400 – 1,500 กิโลแคลอรีต่อวัน
ผู้ชาย พลังงานที่แนะนำ 1,600 – 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน
**หากมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ให้ลดพลังงานที่ควรได้รับลงประมาณ 500 แคลอรีต่อวัน

X

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสภากาชาดไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและให้บริการ ขอนำข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์แบ่งปันกับบุคคลที่สาม รวมถึงโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม สำหรับการประชาสัมพันธ์ โดยการกด “ยอมรับ” ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า